สมัชชาลูกเสือโลก

สมัชชาลูกเสือโลก

(World Scout Conference) 

สมัชชาลูกเสือโลก

          สมัชชาลูกเสือโลก คือ ที่ประชุมใหญ่ของผู้แทนจากองค์การลูกเสือแห่งชาติต่าง ๆ  ทั่วโลก

ที่เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก  (ประเทศหนึ่งมีองค์การลูกเสือแห่งชาติได้เพียงหนึ่งองค์การ) ซึ่งในปัจจุบันนี้มีองค์การสมาชิก (Member Organizations) รวมทั้งสิ้น 156 องค์การ โดยปกติแล้วจะมีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกทุก ๆ 3 ปี ต่อหนึ่งครั้ง สมัชชาลูกเสือโลกเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด และเป็นองค์กรที่กำหนดนโยบาย (Policy – making Body) จัดระเบียบการบริหารกิจการลูกเสือโลก เพื่อให้เกิดเอกภาพ (UNITY) ที่มั่นคง ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญลูกเสือโลก (Constitution and By – Law of the World Organization of the Scout Movement)

สมัชชาลูกเสือโลกนี้ ประกอบขึ้นด้วยผู้แทนขององค์การลูกเสือสมาชิก (Member Organizations) หรือกาจกล่าวได้ว่า ผู้แมนจากประเทศสมาชิกฯ ประเทศละไม่เกิน 6 คน มาร่วมประชุมตามกำหนดวัน และสถานที่ในประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง ตามที่สมัชชาลูกเสือโลกได้อนุมัติในระหว่างการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกล่วงหน้าไว้ก่อน 2 สมัย

ตัวอย่างเช่น  ในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่  31 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่ประชุม ฯ ได้มีมติอนุมัติให้คณะลูกเสือแห่งชาติ (ประเทศไทย) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 19 – 23 กรกฎาคม 2536 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย (ได้เว้นช่วงการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 32 ซึ่งได้จัดขึ้นที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส มาหนึ่งสมัย) เป็นต้น

อำนาจและหน้าที่ของสมัชชาลูกเสือโลก

  1. พิจารณานโยบายและมาตรฐานของการลูกเสือทั่วโลก และกำหนดแนวทางให้องค์การลูกเสือสมาชิกทุกประเทศปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การลูกเสือโลก
  2. กำหนดนโยบายทั่วไปขององค์การลูกเสือโลก
  3. พิจารณาการรับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก โดยยึดหลักเกณฑ์ว่าองค์การลูกเสือแห่งชาติ ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกนั้น จะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์   (Purpose) หลักการ (Principles)
  4. พิจารณาให้องค์การสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก
  5. เลือกตั้งกรรมการลูกเสือโลก ให้ครบจำนวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก
  6. พิจารณารายงาน และข้อเสนอแนะของกรรมการลูกเสือโลก
  7. พิจารณาข้อเสนอแนะจากองค์การลูกเสือสมาชิก ฯ
  8. พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมธรรมนูญลูกเสือโลก
  9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ทุกเรื่อง ตามที่ได้กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก

หมายเหตุ  : การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก  ตั้งแต่ครั้งที่  1  (พ.ศ.2436) ถึงครั้งที่ 31 (พ.ศ. 2531)

จัดประชุม ฯ ทุก ๆ 2 ปีต่อครั้ง หลังจากครั้งที่ 31 ซึ่งจัดประชุมที่นครเมลเบอร์น ประเทศ

ออสเตรเลียแล้ว ธรรมนูญลูกเสือโลกได้รับการแก้ไขใหม่ ให้มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ทุก 3 ปีต่อครั้ง