ประวัติของ B.P. (ต่อ2)

5

ชีวิตการเป็นลูกเสือ

พ.ศ.  2450   B.P.  เห็นความสำคัญของเด็กจึงรวมเด็ก 20 คน (รวมหลานของท่านอีก 1 คน รวมเป็น 21 คน) จัดพาไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี( Brownsea Island ) เป็นเวลา 9 คืน  (ตั้งแต่คืนวันที่  31 ก.ค. 2450 ถึงเช้าวันที่ 9 ส.ค.  2450 ) ฝึกระบบหมู่ได้ผลเกินคาด  ในการอยู่ค่ายพักแรมครั้งนี้เสียค่าใช้จ่ายคนละ 3 ชิลลิง 6 เพนนี ส่วนบุตรผู้ที่มีฐานะดีเสียคนละ 1 ปอนด์)ผลการฝึก เกิดความสนุกสนาน ได้ความรู้ ความสามัคคี  ผู้ปกครองพอใจเด็กพึ่งตนเองได้   การอยู่ค่ายพักแรมครั้งนี้  ถือเป็นการกำเนิดลูกเสือครั้งแรกในโลก

พ.ศ.  2451 (ค.ศ.  1908) B.P.  ได้เขียนหนังสือลูกเสือสำหรับเด็กชายขึ้น (Scouting for boy) เป็นหนังสือเล่มแรกในองค์การลูกเสือ   กิจการลูกเสือเจริญก้าวหน้าในอังกฤษอย่างมาก

พ.ศ.  2452  (ค.ศ.  1909) B.P.  จัดชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกที่พระราชวังคริสตัล (CrystalPalace) ในกรุงลอนดอนมีลูกเสือเข้าร่วม 11,000 คน   B.P.  ได้รับพระราชทานเหรียญตรา  “ Kinght Commander of the Victorian Order” มีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์โรเบิร์ต เบเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือได้แพร่หลายออกไปทั่วโลก

หมายเหตุ           กองลูกเสือในเครือจักรภพจัดตั้งในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ.  1908) ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย  ประเทศนิวซีแลนด์  พ.ศ. 2452 ( ค.ศ. 1909)   ประเทศอินเดีย ประเทศนอกจักรภพที่ตั้งกองลูกเสือ พ.ศ.  2452 (ค.ศ.  1909)ประเทศชิลี พ.ศ.  2453  (ค.ศ.  1910)ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนายวิลเลียม บอยซ์ (William Boyce) พ.ศ.  2454   (ค.ศ. 1911)พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  6ทรงสถาปนาเป็นกองลูกเสือไทยขึ้น เมื่อวันที่  1 กรกฎาคม  พ.ศ.  2454 เป็นประเทศที่ 3 นอกเหนือเครือจักรภพ