กิลเวลล์ปาร์ค(ต่อ4)

ชุดของเครื่องหมายวูดแบดจ์

6 ท่อน

          ผู้สำเร็จการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ ในสมัยแรก ๆ จะได้รับชุดของเครื่องหมายวูดแบดจ์ ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จในการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือจากกิลเวลล์ปาร์ค ประเทศอังกฤษโดยตรง ( ชุดของเครื่องหมายวูดแบดจ์นี้มี  4 ชิ้น ) ไม่ว่าจะเข้ารับการฝึกอบรมที่ประเทศใดก็ตาม เพราะบัญชีชื่อของผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์  จะต้องส่งไปเก็บอยู่ในทำเนียบของการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ที่กิลเวลล์ปาร์คประเทศอังกฤษแห่งเดียว แล้วกิลเวลล์ปาร์ค  ก็จะส่งชุดของเครื่องหมายวูดแบดจ์มาให้  คือ

  1. Gilwell Parchment  คือ  วุฒิบัตร ฯ ของ กิลเวลล์ปาร์ค  1 แผ่น
  2. Gilwell  Woggle  คือ  ห่วงสวมผ้าผูกคอลูกเสือ  1 ห่วง สานด้วยสายหนังเส้นกลม ถักเป็นรูปคล้ายตะกร้อ
  3. Wood  Badge เครื่องหมายวู้ดแบดจ์  ประกอบด้วย ไม้หมอน 2 ท่อน ร้อยอยู่บนสายหนังสำหรับที่สวมคือ
  4. Gilwell Scarf – ผ้าผูกคอกิลเวลล์ 1 ผืน  ทอเป็น 2 สี  ด้านนอกเป็นสีน้ำตาล ด้านในเป็นสีแดง  ที่มุมด้านนอกของผ้าผูกคอ มีผ้าตาสก๊อต รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ ติดอยู่ ผ้าตาสก๊อตของตระกูลแมคคลาเรน ขนาด 1.5 x 2.5 นิ้ว ปะตรงสามเหลี่ยม

ผ้าตาสก๊อตนี้เป็นสัญลักษณ์ที่ให้เกียรติแก่ นายดับลิว . เอฟ เดอะบัวส์  แมคคลาเรน ชาวสก๊อตแลนด์ผู้บริจาคเงินซื้อที่ดิน 57 เอเคอร์ คือ กิลเวลล์ปาร์คนี่เอง เพื่อสนองความประสงค์ของ บี.พี. ด้วยเหตุนี้เอง กิลเวลล์ปาร์ค จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ (International Training Centre for Scouters)  ในสมัยนั้น และถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งขององค์การลูกเสือ โลก (Charles Maclean. 1961)

หมายเหตุ        ในปี พ.ศ.  2511 ท่านอาจารย์ กอง วิสุทธารมณ์ อธิบดีกรมพลศึกษา ได้มอบหมายให้ นายสุทัศน์ เมาลีกุล  ซึ่งทำหน้าที่ด้านการประสานงานลูกเสือระหว่างประเทศ ของกองการลูกเสือกรมพลศึกษา ดำเนินการคิดหาหนทาง และหาเหตุผลที่ดีเพื่อขอความอนุเคราะห์จากมิสเตอร์ จอห์น  เทอร์แมน ผู้บังคับการค่ายแห่งศูนย์ฝึก ฯ กิลเวลล์ปาร์คเพื่อขออนุญาตให้คณะลูกเสือแห่งชาติออกวุฒิบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม ฯขั้นวูดแบดจ์ในเมืองไทยขึ้นเอง และพร้อมทั้งขอลิขสิทธิ์ในการจัดทำผ้าผูกคอกิลเวลล์และเครื่องหมายวูดแบดจ์ โดยขอให้คณะลูกเสือแห่งชาติจัดทำขึ้นเองเช่นเดียวกัน