รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ครั้นมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ ต่อจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงปฏิบัติราชภารกิจในฐานะกษัตริย์ ในหลายๆด้าน กิจการลูกเสือเป็นกิจการที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อันส่งผลในการกระตุ้นให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องมีความกระตือรือล้น ซึ่งนั่นเป็นการส่งสัญญาณว่ากิจการลูกเสือจะได้รับการฟื้นฟูให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เพียง 1 ปี หลังจากการขึ้นครองราชย์ รัฐบาลที่มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำ ได้ออกพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2490 ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ.2482 แต่มีสาระที่เพิ่มขึ้นคือ8

“กำหนดให้พระมหากษัติรย์ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ” กิจการยุวชนทหารจึงได้ถูกยุบลงไปโดยปริยาย ทำให้ลูกเสืออกลับมามีบทบาทในสังคมอีกครั้ง รวมทั้งได้ทรัพย์สินที่เคยถูกถ่ายโอนให้ไปอยู่รวมกับยุวชนทหารกลับคืนมาด้วย   หลังจากกิจการลูกเสือถูกปลุกให้ฟื้นคืนมา ก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ แม้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯเอง ก็ยังทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในโรงเรียนจิตรลดา และโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจาฟ้าวชิราลงกรณฯ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฯ) ทรงสมัครเข้าเป็นลูกเสือด้วย ในปี พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติอีก 1 ฉบับ เพื่อปรับปุรงกฎหมายว่าด้วยกิจการลูกเสือให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น

โดยมาตรา 5 กำหนดให้คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ และมาตรา 8 กำหนดใหพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 นั้นมีสิ่งที่บ่งบอกถึงพัฒนาการอันสำคัญของกิจการลูกเสือในประเทศ และนับเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีกิจการลูกเสือประเภทนี้ คือ การก่อตั้งกิจการลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งก่อตั้งในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ที่หมู่บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา กิ่งอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ด้วยการจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรม ลูกเสือชาวบานนั้นจะแต่งกายอย่างไรก็ได้ที่สุภาพเรียบร้อย ข้อสำคญต้องมีผ้าผูกคอ ว๊อคเกิ้ลรูปหน้าเสือ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลูกเสือรุ่นแรกที่หมู่บ้านเหล่ากอหกนั้น มีมุมผ้าผูกคอเป็นรูปพระแก้วมรกตเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงประชาชนในผืนแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเข้ารับการฝึกอบรมและเป็นลูกเสือชาวบ้านได้