วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ที่นำเด็กไปอยู่ค่ายพักแรมทดลอง

          บี.พี. ต้องการทดสอบความคิดของตนที่ได้วางแผนไว้สำหรับฝึกอบรมเด็ก ๆ แห่งสมาคมเด็กต่าง ๆในประเทศอังกฤษในขณะนั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมเด็กชื่อ Boys,  Brigade ซึ่งมีสมาชิกถึง 54,000 คน  ผู้ก่อตั้งสมาคมนี้ คือ เซอร์  วิลเลียม สมิธ ( Sir William  Smith ) เซอร์  วิลเลียม สมิธ  ได้เชิญ บี.พี. ไปตรวจเยี่ยม และให้คำแนะนำแก่สมาคมแห่งนี้ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิที่เพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ในการฝึกเยาวชน และในฐานะแขกผู้มีเกียรติอันสูงส่ง บี.พี. รับเชิญด้วยความยินดี ได้ไปแสดงปาถกฐา และให้โอวาทแก่เด็ก ๆ ของสมาคม ฯ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า ถ้าหากได้จัดแผนการฝึกอบรมเด็ก  ๆ ที่เหมาะสมสามารถทำให้เด็กมีความสนใจ ตื่นเต้น สนุกสนานได้ ก็จะสามารถเรียกเด็กเข้ารับการฝึกอบรมได้มากกว่านี้ เป็นจำนวนหลายสิบเท่าทีเดียว6

เมื่อ บี.พี. ได้รับการขอร้องให้ช่วยจัดทำแผนการฝึกอบรมเด็กให้แก่สมาคม ฯ บี.พี. จึงได้เกิดความคิดเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ในขณะที่ บี.พี. เป็นนายทหารอยู่ที่ประเทศอินเดีย ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่ง คือ “ Aids to Scouting ”  ( คู่มือการสอดแนม ) ซึ่งได้ใช้เป็นคู่มือในการฝึกทหารหนุ่มในประเทศอินเดีย จนประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างดีเยี่ยม และจากวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งกลวิธีจากคู่มือเล่มนี้ บี.พี.ได้นำมาใช้ปฏิบัติจริง  ๆอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่จากกองทัพบกอังกฤษให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในแอฟริกาใต้ และที่เมืองมัฟฟีคิง จนประสบความสำเร็จทุกประการ (Rex Hazelwood. 1961)

แต่ บี.พี. ก็คิดว่าหนังสือเล่มนี้ “Aids to Scouting “ เหมาะสำหรับการฝึกทหารเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการที่จะนำมาฝึกอบรมเด็ก ๆ   จึงคิดเขียนหนังสือขึ้นมาใหม่อีกเล่มหนึ่งให้ชื่อว่า   “ Scouting for Boys “ ซึ่งแปลว่า  “ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย “ หนังสือเล่มนี้จึงกลายมาเป็นคู่มือวิชาการลูกเสือที่เป็นแบบฉบับของการฝึกอบรมลูกเสือมาจนถึงทุกวันนี้

บี.พี. จึงเริ่มต้นเขียนหนังสือเรื่อง “ การลูกเสือสำหรับเด็กชาย ” ในปี พ.ศ.  2450 โดยพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายปักษ์ ในราคาที่ถูกมาก เพื่อให้เด็ก ๆ ทุกคนสามารถซื้ออ่านได้ แต่ก่อนที่จะส่งต้นฉบับของฉบับสุดท้ายเข้าโรงพิมพ์ บี.พี.  คิดว่า แผนการฝึกอบรมเด็กนี้  ควรจะต้องได้รับการทดสอบและทดลองปฏิบัติอยู่ค่ายพักแรมจริง  ๆ เสียก่อน ว่าจะได้ผลสำเร็จเพียงไร