สมัชชาลูกเสือโลก(ต่อ)

ระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

           (ซึ่งได้นำมาใช้ในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 19 – 23 กรกฎาคม 2536   ณ    โรงแรมอิมพีเรียล  ควีนปาร์ค กรุงเทพ ฯ )

ธรรมนูญลูกเสือโลก มาตราที่  11 ได้กำหนดไว้ว่า “ ที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลกอาจกำหนดระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกขึ้นแต่ละครั้งได้ แต่จะต้องนำระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับดังกล่าวเสนอในที่ประชุมใหญ่วาระแรกของการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกนั้น ๆ โดยให้คณะกรรมการลูกเสือโลกเป็นผู้นำ เพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุม ฯ ”

  1. 1. การแต่งตั้งประธาน ฯ และรองประธาน ฯ

คณะกรรมการลูกเสือโลก เป็นผู้แต่งตั้งประธานและรองประธานของการประชุม ฯ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการประชุมในแต่ละวันของการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

  1.  คณะกรรมการบริหารการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ( ตามธรรมนูญลูกเสือโลก )  ประกอบด้วย
    • ประธานที่ประชุม ฯ
    • รองประธานที่ประชุม ( 2 คน )
    • เลขาธิการองค์การลูกเสือโลก
    • คณะกรรมการลูกเสือโลก อาจแต่งตั้งกรรมการบริหารการประชุมเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมและความจำเป็น
    • คำสั่งของประธาน ฯ เป็นคำชี้ขาดในที่ประชุม
  1.  ผู้มีสิทธิ์เข้าประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

สมาคมลูกเสือของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกเท่านั้น มีสิทธิ์ส่งคณะผู้บังคับบัญชาลูกเสือของประเทศ เข้าร่วมการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก  ซึ่งประกอบด้วย

3.1   คณะผู้แทนของประเทศ (Delegates)  ไม่เกิน 6 คน

3.2   คณะผู้สังเกตการณ์การประชุม ฯ (Observers) มีจำนวนตามสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการลูกเสือโลก (ในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 คณะลูกเสือแห่งประเทศไทย ส่งผู้สังเกตการณ์ ฯ เข้าร่วมประชุม ฯ จำนวน 51 คน)

3.3  ผู้แทนคณะลูกเสือของสมาคมลูกเสือที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การลูกเสือโลกอาจได้รับคำเชิญจากคณะกรรมการลูกเสือโลกให้เข้าร่วมการประชุมได้

3.4   ผู้แทนขององค์การหรือหน่วยงานนั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่องค์การลูกเสือสมาชิก ฯ ก็อาจได้รับเชิญจากคณะกรรมการลูกเสือโลกให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวได้

3.5   ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทน ฯ ตามข้อ 1 เท่านั้น ที่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก

3.6   ผู้เข้าร่วมประชุม ฯ ตามข้อ 2 มีสิทธิ์เสนอข้อคิดเห็น และร่วมอภิปรายปัญหาในที่ประชุมใหญ่ได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากประธานที่ประชุมตามระเบียบเสียก่อน แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนในการประชุม ฯ ใด ๆ ทั้งสิ้น

3.7   องค์การลูกเสือสมาชิกประเทศใด ที่มีความประสงค์จะเสนอข้อญัตติเข้ารับการพิจารณาในที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก  เพื่อให้มีการลงมติ จะต้องเสนอข้อญัตติดังกล่าวไปยังสำนักงานลูกเสือโลกล่วงหน้าเป็นเวลา 4 เดือน นังตั้งแต่วันที่เสนอข้อญัตติจนถึงวันแรกของการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก มิฉะนั้นข้อญัตติที่เสนอไปจะถูกตัดออกจากระเบียบวาระการประชุม ฯ