ลำดับเหตุการณ์(ต่อ8)

พ.ศ.  2532   

–           การประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเขตเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่16 ที่ไต้หวัน

พ.ศ.  2533

–           การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่32 ที่กรุงปารีส ประเทศออสเตรเลีย

–           การชุมนุมลูกเสือวิสามัญแห่งโลก ครั้งที่ 9 ที่เมืองกานเดอร์สเต็ก ประเทศอินโดนีเซีย

พ.ศ.  2536   

–           การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก  ครั้งที่  33  ที่โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ  ประเทศไทย

–           ประเทศสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก  เพิ่มขึ้นเป็น 136  ประเทศ

พ.ศ. 2538    

–           การชุมนุมลูกเสือโลก  ครั้งที่18  ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

พ.ศ.  2539   

–           การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่34  ที่กรุงออสโล  ประเทศนอร์เวย์

–           การชุมนุมลูกเสือวิสามัญแห่งโลก  ครั้งที่10 ที่ประเทศสวีเดน

พ.ศ.  2542 

–           การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่35 ที่ประเทศแอฟริกาใต้

–           การชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 19 ที่ประเทศชิลี

พ.ศ.  2546

–           การชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20  ที่ประเทศไทย  (แหลมแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี )

หมายเหตุ กิจกรรมขององค์การลูกเสือโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนถึงปี พ.ศ.2542นั้น เป็นกำหนดการตามมติของสมัชชาลูกเสือโลก

คำว่า “ Conference ” ที่ใช้กับเขตต่าง ๆ ขององค์การลูกเสือโลกตัวอย่างเช่น  7 th Asia – Pacific Regional Scout Conference ผู้เขียน ฯ ได้ใช้เป็นภาษาไทยว่า “ การประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเขตเอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 7 ” ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2513 เป็นต้นมา   ไม่ได้ใช้คำว่า “ สมัชชาลูกเสือเอเชีย – แปซิฟิก ” เพราะมิฉะนั้นแล้วจะไปซ้ำกับคำว่า “ สมัชชาลูกเสือโลก “ คือ World Scout Conference ซึ่งได้เรียกกันเป็นประเพณีมาตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก