บันทึกภูมิหลัง(ต่อ2)

หมายเหตุ        ในการอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซีครั้งนั้น  บางตำราก็ว่าท่าน  บี-พี ได้ขอให้เพื่อนนายทหารส่งบุตรหลานที่เป็นนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลใหม่ ๆ ของอีดันแฮร์โรว์เข้าค่ายร่วมกับเด็กมัธยม  ลูกกรรมกร  จากเมืองบอร์นมัธ  และพูด โดยคิดค่าเข้าค่ายและอาหารคนละ  1 ปอนด์  ส่วนลูกกรรมกรคนละ 3 ชิลลิง  6 เพนนี เกาะบราวน์ซีเป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ตรงหน้าอ่าวเมืองพลูมีความยาวประมาณ 1 ½  ไมล์  กว้างสุดประมาณ ¾  ไมล์  มีพื้นที่ประมาณ  560 เอเคอร์  (ประมาณ 1,440  ไร่)  บนเกาะมีตึกใหญ่เดิมเป็นของมิสเตอร์ชารลส์  แวน ราอาลต์  รอบตึกมีที่ดินเหมาะสำหรับการพักแรม บี.พี. ทำหนังสือขออนุญาติเจ้าของเกาะตั้งค่ายพักแรม ปัจจุบันเกาะนี้เป็นสมบัติของชาติอังกฤษการอยู่ค่ายพักแรมครั้งนี้ บี.พี. ใช้กางเต็นท์โดยเช่าจากเมืองบอร์นมัธ  ทำเป็นที่พักนอนโรงครัว  และที่รับประทานอาหาร  ใช้เสื่อทำด้วยฟางปูนอนเด็กอยู่ค่ายสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น  สวมหมวกปีกพับข้าง  ทุกคืนก่อนจบการประชุมรอบกองไฟมีการสวดมนต์เคารพพระเจ้า แล้วจึงแยกเข้าที่นอน  ส่วน บี.พี. กับพันตรีแมคคาเรนจะมีการปรึกษาหารือถึงกิจการงานก่อนแล้วจึงนอน

ตารางการฝึกอบรมแต่ละวันมีดังนี้

ตื่นนอนเวลา   06.00  นาฬิกา  แล้วปฏิบัติ

  • ล้างหน้า แต่งตัว  ทำความสะอาดที่พัก
  • ดื่มโกโก้ร้อน 1 ถ้วย
  • ชี้แจงกิจกรรมประจำวัน
  • กายบริหารร่างกายท่ามือเปล่า
  • พิธีเชิญธงขึ้นสู่ยอดเขา
  • สวดมนต์
  • อาหารเช้า
  • กิจกรรม
  • รับประทานอาหารกลางวัน
  • กิจกรรม
  • ฯลฯ

ในคืนวันที่ 31 กรกฎาคม บี.พี. จัดให้มีการนั่งรอบกองไฟเป็นครั้งแรก โดยท่านเป็นผู้นำในการประชุมรอบกองไฟ มีการร้องเพลงร่วมกัน และเล่าประสบการณ์ของท่านในอินเดีย และแอฟริกาให้เด็ก ๆ ฟัง เสร็จแล้วทำการปฐมนิเทศชี้แจงผลรายละเอียดต่าง ๆ  กำหนดกิจกรรมที่ทำในวันต่อ ๆ ไป ก่อนปิดการประชุมรอบกองไฟ มีการสวดมนต์ แล้วปิดประชุมรอบกองไฟ ให้เด็กกลับไปนอนในเต็นท์ ส่วน บี.พี กับ พันตรีแมคคาเรน ยังคงการปรึกษา  หารือถึงงานที่จะทำต่อไปเสร็จแล้ว  จึงเข้านอน ( ซึ่งเป็นแบบอย่างกิจกรรมลูกเสือในทุกวันนี้ ) วิชาที่ทำการฝึกอบรม  ได้แก่  สัญญาณต่าง ๆ การบุกเบิก  การผูกเงื่อน  การทำสะพาน  การคาดคะเนระยะทาง  การอยู่ค่ายพักแรม  การสังเกตและจำ  และการปฐมพยาบาล เป็นต้น ขณะที่มีการเข้าค่ายห้ามมิให้ผู้อื่นเข้าไปในบริเวณการอยู่ค่ายโดยเด็ดขาด  ยามรักษาการณ์จะปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง  แม้แต่เจ้าของเกาะ  พร้อมบุตรชาย  หญิงก็เข้าไม่ได้  ยามซึ่งเป็นเด็กจะคอยส่งตัวกลับบ้านแต่ในวันสุดท้ายของการอยู่ค่ายพักแรม    บี.พี.  จะให้เด็กๆจัดงานการแสดง  โดยให้เชิญแขกคือ  บิดา  มารดา  เจ้าของเกาะ  พร้อมบุตรชาย  หญิง และให้เด็กๆเป็นผู้วางแผนการรับรองเองเมื่อเสร็จจากการอยู่ค่ายพักแรมในครั้งนั้น  บี. พี. ได้รับจดหมายแสดงความยินดี  ชื่นชมมากเพราะเด็กๆ  ได้รับความรู้  ความสนุกสนาน  ช่วยตัวเองได้    รู้จักคิด  ช่วยเหลือผู้อื่นการแสดงที่จัดในวันสุดท้ายนี้เด็กจะฝึกหัดกันเอง  มีการเล่นเกม  แข่งขัน  สาธิตวิชา  ปัจจุบันพยาบาล  ดับเพลิง  ทอเสื่อ  ยูโด  และชักเย่อ เวรยามเด็กๆจัดกันเอง  ตั้งแต่เช้าถึง 23.00 น.  แบ่งหน้าที่กัน  ทำครัวจัดอาหารผลัดเปลี่ยนกันอยู่เวร  ทุกคนทำหน้าที่ได้ดีเป็นที่น่าพอใจปัจจุบันวงการลูกเสือทั่วโลกจึงถือว่า  การทดลองอยู่เกาะบราวน์ซี  เป็นการเริ่มต้นของลูกเสือโลก  และถือว่า  บี.พี. คือบิดาแห่งลูกเสือโลก

back1_0next icon_1