งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่  20.. 2546

(20 th World Scout Jamboree, 2003)

ขบวนการลูกเสือในระดับโลกมีประเพณีอันเก่าแก่ที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างลูกเสือทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกวัฒนธรรมความเป็นอยู่ โดยไม่มีการแบ่งแยกในเชิงการเมืองหรือไม่ยึดถือเรื่องเขตพรมแดนระหว่างประเทศใด  ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือในระดับประเทศและระดับภาคพื้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก  อันเป็นโอกาสให้ลูกเสือจำนวนมาก ไม่ว่าจะอายุน้อยหรืออายุมากเพียงใดได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดซึ่งกันและกัน และยังทำให้ขบวนการลูกเสือขยายวงกว้างออกไปสู่การเป็นพี่น้องกันมากขึ้นในประชาคมโลก

จุดมุ่งหมายของงานชุมนุมลูกเสือโลก 

Jamboree  เป็นภาษาอาฟริกันซูลู หมายถึงการที่ชนเผ่าเรียกพรรคพวกให้มาร่วมกันชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ลและสำคัญที่สุดของชีวิตแห่งการเป็นลูกเสือถือว่าเป็นการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของชีวิตแห่งการเป็นลูกเสือ เป็นงานสำคัญระดับโลก โดยปกติจะจัดให้มีทุกๆ 4 ปี  ซึ่งลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่อายุระหว่าง 14-18 ปี ทุกเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ใฝ่ฝันจะต้องเข้ามาร่วมงานและทำกิจกรรมต่าง ๆที่ท้าทายย ทั้งในเชิงความรู้ การศึกษา ทักษะ ประสบการณ์แห่งการเป็นลูกเสือ และยังพิสูจน์ถึงสมรรถภาพร่างกายของลูกเสือรวมถึงการสร้างความเข้าใจอันเป็นมิตรภาพที่ดีต่อกันโดยใช้หลักกระบวนการของลูกเสือเพื่อจัดกิจกรรมท่ามกลางธรรมชาติ สำหรับลูกเสือ  ผู้บังคับลูกเสือ และลูกเสืออาสา (International  Service Team หรือ IST)

พันธะกรณีในการเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลก

การเป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกจำเป็นต้องมีการเสนอตัวและเป็นที่ยอมรับให้เป็นเจ้าภาพ เมื่อมีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก เท่านั้น  ประเทศไทยได้รับความเป็นชอบให้เป็นเจ้าภาพ เมื่อมีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 20 เมื่อมีการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก  (World Scout conference)  ครั้งที่  34  เมื่อปี พ.ศ.  2539  ณ กรุงออสโล  ประเทศนอร์เวย์

เนื่องจากกิจกรรมในงานชุมนุมลูกเสือถือว่าเป็นกิจกรรมทางการศึกษา (Educational Event)  ที่สำคัญดังนั้นประเทศเจ้าภาพจึงให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาของเยาวชน (Youth Programme)  มาควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัวแบบลูกเสือตลอดระยะเวลาการออกค่ายพักแรม

สำนักงานลูกเสือโลก (World Scout  Bureau )  และคณะกรรมการบริหารลูกเสือโลก (World Scout Committee ) มีภาระหน้าที่จะต้องตามการดำเนินงานและความคืบหน้าในการเตรียมงานของประเทศเจ้าภาพ ขณะเดียวกันประเทศเจ้าภาพจะต้องร่วมกันติดตามผลการปฏิบัติงานและให้ความเห็นชอบร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ตามกรอบของพันธะกรณีในการเป็นเจ้าภาพงานชุมนุมลูกเสือโลกดังนี้