รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ต่อ)

นอกจากนี้กิจการลูกเสือของไทยยังก้าวหน้าทั้งในระดับชาติและระดับสากล เจ้าหน้าที่ลูกเสือของไทยมีโอกาสเข้าร่วมงานลูกเสือระดับโลก และขณะที่งานลูกเสือระดับโลกหลายงานก็มาจัดขึ้นที่เมืองไทยเช่นกันและพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกเสือนั้น ก็ไม่ใช่จะเพียงแค่รู้กันในหมู่คนไทย หากแต่ลูกเสือทั่วโลกก็ได้ยิน ได้ฟังและได้รู้ ในสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบติเช่นกัน และเหตุการณ์ที่โลกต้องจารึกไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ที่ทรงงานอันส่งเสริมกิจการลูกเสือให้ก้าวหน้าพัฒนา คือการทูลเกล้าถวายเครื่องหมายวู๊ดแบดจ์ ชั้นพิเศษ 4 บีด ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จากศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ กิลเวลล์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่เคยมีใครที่จะได้รับถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม และไม่เคยถวายแด่พระประมุขของประเทศใดเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นบุคคลแรกของโลกที่ได้รับเกียรตยศอันสูงส่งนี้
และอีกครั้งหนึ่งในปี มหามงคลการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก (ปี พ.ศ. 2549) ที่ทรงครองราชยสมบัติยาวนานที่สุด ประเทศไทยจึงได้มีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และมีการเฉลิมฉลองกันทั้งปี ในวันที่ 20 มิถุนายน พระราชาธิบดี คาร์ล ที่ 16 กุสตาฟ (กษัตริย์) แห่งสวีเดน เสด็จมาเพื่อเข้าเฝ้าในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ ของมูลนิธิลูกเสือโลก (World Scout Foundation) เพื่อทูลเกล้าถวายอิสริยาภรณ์สดุดึลูกเสือโลก หรือ บอร์น วูฟ (The Bronze Wolf) ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปสุนัขจิ้งจอก สีบอร์น ประดับอยู่บนสายริบบิ้น

11พื้นคล้องคอสีเขียว ที่มีปลายสีเหลือง เป็นอิสริยาภรณ์ที่คณะกรรมการลูกเสือโลกพิจารณามอบให้เป็นเกียรตแก่บุคคลที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านการสนับสนุนกิจการลูกเสือ โดย BP ประมุขตลอดกาลของลูกเสือโลกเป็นผู้ริเริ่มในการมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และมีคนไทยเพียงไม่กี่คนที่เคยได้รับเครื่องหมายอันทรงเกิยรตินี้ โดยคนแรกที่ได้รับคือ นายอภัย จันทวิมล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2514