การดำเนินงาน

การดำเนินงาน

          ดังนี้น บี.พี. จึงได้ติดต่อกับพ่อแม่ของเด็กผู้ชายที่มีอายุระหว่าง  11 – 15  ปี  ในกรุงลอนดอน เมืองพูล และเมืองบอร์เม้าท์ ( Bournmouth ) ขอให้ส่งลูกชายไปอยู่ค่ายพักแรม ซึ่ง บี.พี. จะจัดขึ้นที่เกาะบราวน์ซี  ปากอ่าวเมืองพูล ตั้งแต่วันที่ 1 – 9  สิงหาคม พ.ศ.  2450 เด็กเหล่านั้นมาจากครอบครัวที่มีฐานแตกต่างกันเด็กบางคนมาจากโรงเรียนอีตัน (เป็นโรงเรียนกินนอนที่มีชื่อเสียงมากคล้ายกับโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) บางคนเป็นลูกชาวนา บ้างก็เป็นเด็กบ้านนอก บ้างก็มาจากร้านค้า และมาคละกันอยู่ค่ายพักแรมร่วมกัน โดยที่เด็ก ๆ เหล่านั้นมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน บี.พี. ต้องการใช้สถานที่สงบเงียบในการฝึกอบรมเด็ก ไม่ต้องการให้มีนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ไปรบกวน และไม่อยากให้ชาวบ้านไปมุงดูกันเป็นของสนุกสนานจึงสามารถจะใช้เป็นค่ายสำหรับทดลองการอยู่ค่ายพักแรมตามอุดมการณ์ได้อย่างแท้จริง

13

บี.พี.  พิจารณาเห็นว่า เกาะบราวน์ซี เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นเกาะเล็ก มีทะเลล้อมรอบ มีธรรมชาติสวยงาม ภูมิประเทศเหมาะสำหรับการฝึกอบรม โดยเฉพาะมีทั้งที่ราบประปรายไปด้วยป่าละเมาะ มีทั้งป่าใหญ่ และหนองน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า  และนกนานาชนิด ปราศจากการรบกวนของบรรดาพรานล่าสัตว์ ยิงนก ตกปลาทั้งหลาย ซึ่งสามารถใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมได้ทั้งบนบกและทางน้ำเป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ บี.พี. จึงได้ตัดสินใจใช้เกาะบราวน์ซี เป็นสถานที่อยู่ค่ายพักแรม ของเด็ก ๆ เพื่อทดลองแผนการฝึกเด็กในครั้งนี้ ในตอนเย็นของวันที่  31 กรกฎาคม  พ.ศ.  2450  เด็ก 20 คน ที่ได้ติดต่อไป ก็มารวมอยู่ที่เกาะบราวน์ซีใช้เต็นท์ทหารเป็นรูปคล้ายระฆังเป็นที่พักสำหรับเด็ก ๆ บี.พี.  ได้นำเอาหลานชายคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุเพียง 9 ขวบ ไปร่วมด้วย คอยทำหน้าที่ช่วยเหลือรับใช้ บี.พี. เสมือนทหารคนสนิท

มีบุคคล 2 คน ซึ่งต่อมาเป็นคนสำคัญในการสืบทอดเจตนารมณ์ทางการลูกเสือของบี.พี. คือ นายอาเธอร์    พริมเมอร์ ( Mr. Arthur Primmer ) กับ นายเทอรี่ บอนฟิลด์ ( Mr. Terry Bonfield ) ซึ่งก็เป็นเด็ก  2 คน ในจำนวน 20 คนนั้น ( Scouts Canada. 1977)