สาระสำคัญ(ต่อ2)

วิธีการ ( METHOD )

วิธีการลูกเสือ  คือระบบการศึกษาด้วยตนเอง ให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับขั้น โดยอาศัย

  1. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
  2. การเรียนรู้ด้วยการกระทำ
  3. ระบบหมู่หรือกลุ่มย่อย โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้นำ สั่งสอน ฝึกอบรมให้มีความรับผิดชอบทีละน้อย แล้วเพิ่มความรับผิดชอบให้มากขึ้นตามลำดับอายุ ฝึกให้รู้จักปกครองตนเองจนเป็น
  4. การทดสอบความก้าวหน้าตามลำดับขั้น ปรับระดับของการฝึกอบรมลูกเสือให้สูงขึ้นตามระดับอายุ
  5. ระบบเครื่องหมาย ( Proficiency Badge System หรือ Merit Badge System )
  6. การจัดหลักสูตรของการฝึกอบรมเด็ก และวิชาที่เรียน ตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าเป็นรายบุคคล
  7. การใช้เพลง การเล่น การเล่านิทาน ฯลฯ ประกอบในการฝึกอบรมลูกเสือ
  8. พิธีการต่าง ๆ ในการฝึกอบรมลูกเสือ รวมถึงเครื่องแบบลูกเสือ ตามแบบฉบับที่องค์กรลูกเสือแห่งชาติกำหนดไว้
  9. เน้นเรื่อง การใช้ชีวิตกลางแจ้ง ธรรมชาติศึกษา และการชุมนุมรอบกองไฟ ซึ่งถือเป็นหัวใจของกิจกรรม ลูกเสือประเภท
  10. ประเด็นสำคัญสุดยอดของการฝึกอบรม ฯ คือ เน้นการฝึกทักษะที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต เพื่อการให้บริการต่อชุมชน และฝึกให้เยาวชนนิยมชีวิตกลางแจ้งให้สัมผัสกับธรรมชาติ โดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่

    จากธรรมนูญลูกเสือโลกฉบับปัจจุบัน และเอกสารประกอบธรรมนูญลูกเสือโลกว่าด้วยวัตถุประสงค์ (Purpose) หลักการ (Principles) และวิธีการ (Method) ของขบวนการลูกเสือในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 33 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19- 23 กรกฎาคม 2536