บันทึกภูมิหลัง(ต่อ)

เมื่อท่านกลับจากการอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะ  (Brownsea  Island)  แล้วท่านจึงลงมือเขียนหนังสือ  เรื่อง  Scouting  for  boys  (การลูกเสือสำหรับเด็กชาย)  ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.  2541  (ค.ศ.1908) และในปีนี้เองที่ท่าน บี.พี จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ กิจการลูกเสือได้แพร่หลายไปทั่วประเทศอังกฤษอย่างรวดเร็ว และต่อมาในพ.ศ. 2452  ( ค.ศ. 1909 ) พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ  King  Edward  ที่ได้ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภก และตัวท่าน บี. พี. ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น Sir ท่านได้ลาออกจากราชการทหารอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2453 เพื่อมาจัดด้านกิจการลูกเสือแต่อย่างเดียวตามพระราชปรารภของ King Edward  ที่  7  และตามคำของร้องของ Lord  Kicgener

เมื่อสงครามโลกครั้งที่  1 วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2457 ท่านได้โทรศัพท์ติดต่อกองลูกเสือทุกกองในอังกฤษ เรียกประชุมด่วน เพื่อรับใช้ประเทศ (Nation service) ในระยะเวลาเพียงชั่วโมงแรกที่ประกาศสงครามเท่านั้น มีลูกเสือมาประชุมประมาณ 32,000 คน ได้เข้าทำการรักษาการณ์ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น ทางรถไฟ  สะพาน  และโทรเลข  ทั่วเกาะอังกฤษ  และยังช่วยทำหน้าที่เป็นสื่อข่าว ช่วยเหลือในโรงพยาบาล  ลูกเสือสมุทรผลัดเปลี่ยนกันอยู่เวรยามตามเวรยามตามชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอังกฤษ  และได้ปฏิบัติงานช่วยชาติอยู่จนถึงวันที่  7  มีนาคม  พ.ศ. 2463 ( ค.ศ . 1920)

ในปี พ.ศ. 2463 มีลูกเสือทุกประเทศทั่วโลก  ได้มาร่วมการชุมนุมกันที่กรุงลอนดอน เป็นการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรก ในการประชุมครั้งนี้  ลูกเสือทั้งหลายพร้อมใจกันประกาศยกย่องให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขคณะลูกเสือโลก (Chief Scout of The World)

เมื่อกิจการลูกเสือมีอายุครบรอบ  21 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2417   (ค.ศ. 1928) ซึ่งเป็นการบรรลุ “ นิติภาวะ “ ตามกฏหมายอังกฤษและมีลูกเสือทั่วโลกถึง 2 ล้านคนเศษ พระเจ้ายอร์ช ที่ 5 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ บี.พี. เป็นบารอน  เรียกว่า Lord Baden – Powell of The World  of  Gilwell  ต่อจากนั้นกิจการลูกเสือก็เจริญก้าวหน้าออกไปโดยไม่หยุดยั้ง

ต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการลูกเสือมาก  จึงได้นำไปตั้งกองลูกเสือขึ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่  2  (พ.ศ. 2453) รองจากชิลี  (พ.ศ. 2452)

ส่วนประเทศไทยเราตั้งกองลูกเสือเป็นอันดับที่  3 ของโลก โดยก่อตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงขนานนามว่า “ กองลูกเสือกรุงเทพ ฯ ที่ 1 ” (ลูกเสือหลวง) ต่อมาจึงจัดขึ้นตามโรงเรียนต่างๆ และได้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือขึ้นไว้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.  2454  (จึงถือว่าวันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันกำเนิดลูกเสือไทย)

back1_0next icon_1