รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

7
พุทธศักราช 2468
        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับราชภาระต่อจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โดยทรงรับตำแหน่งเป็น นายกสภากรรมการกลางลูกเสือ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบาย และอนุมัติงบประมาณ
ทรงโปรดเกล้าให้คัดเลือกนักเรียน 2 คนเข้า ร่วม ประชุมในเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือรุ่นใหญ่ ที่ประเทศอังกฤษ คือ นายปุ่น มีไผ่แก้ว และ นายประเวศ จันทนยิ่งยง

พุทธศักราช 2469
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ คัดเลือก นักเรียนไทย ที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเคยเป็นรองผู้กำกับ หรือนายหมู่ลูกเสือเอก ไปเข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือนานาชาติ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 22 -28 สิงหาคม

พุทธศักราช 2470
ทรงพระกรณาโปรดเกล้าให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้น ในราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งถือเป็นการจัดงานชุมนุมเป็นครั้งแรกของประเทศ ซึ่งมีลูกเสือ 14 มณฑลเข้าร่วม ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม เนื่องจากงานชุมนุมนี้ได้ผลดีอย่างยิ่ง จึงทรงให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้น ทุกๆ 3 ปี
พุทธศักราช 2470
จัดให้มีการอบรมวิชาผู้กำกบขึ้น ณ สมัคยาจารย์สมาคม
พุทธศักราช 2473
จัดชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ และพระราชทานบริเวณพระรามราชนิเวศน์ จ.เพชรบุรี (พระราชวังบ้านปืน) เป็นสถานที่อบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ

พุทธศักราช 2475
      เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานอำนาจการปกครองให้ประชาชน อันทำให้ตำแหน่งนายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ต้องยุติไปด้วย แต่ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าให้อธิบดีกรมพลศึกษา

5 ดำรงตำแหนงอุปนายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติและต่อมากองลูกเสือจึงตกอยู่ในการบริหารจัดการของกรมพลศึกษา นับแต่บัดนั้น (กรมพลศึกษาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และเมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้นจึงได้โอนย้ายออกมาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ เพื่อรับผิดชอบกิจการลูกเสือโดยตรง ได้แก่ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการเช่นกัน)

พุทธศักราช 2477
ทรงโปรดเกล้าฯใหม่การจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาในจังหวัดชายทะเล หลังจากนั้น เพียง 7 วัน พระองค์ก็ได้ทรงสละราชสมบัติ